นักศึกษาแพทย์ SGU กว่า 1,000 คน คว้าตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านในสหรัฐฯในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025

SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ มากที่สุดติดต่อกันถึง 11 ปี กรุงเทพฯ ประเทศไทย 24 เมษายน 2568 – คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส เปิดเผยว่า มีนักศึกษาและศิษย์เก่ากว่า 1,035 คน ที่สามารถเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านทั่วสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025 นี้ โดยนับเป็นปีที่ 11 ติดต่อกันแล้ว ที่ SGU ครองตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนแพทย์ใหม่เข้ารับตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านปีแรกมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา“พวกเราทุกคนในมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จขอแสดงความยินดีแก่นักศึกษาแพทย์รุ่นนี้กับความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจในครั้งนี้” ดร. Marios Loukas คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ กล่าว “เพราะความสำเร็จในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความทุ่มเท ความพยายาม และความมุ่งมั่นตลอดหลายปีที่ผ่านมาของเรา” นักศึกษาและศิษย์เก่าของ SGU ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานแพทย์ประจำบ้านใน 20 สาขา ทั่ว 41 รัฐในสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐฯ และยังมีนักศึกษาอีกจำนวนหนึ่งที่กำลังลุ้นผลการคัดเลือกในอีกไม่กี่วันหรือสัปดาห์ข้างหน้า โดย SGU นับเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยยอดนิยมของผู้ที่ใฝ่ฝันจะเป็นแพทย์จากประเทศไทย โดยมีนักศึกษาและศิษย์เก่าคนไทยมากกว่า…

Read More

มหาวิทยาลัยขอนแก่นแถลงความสำเร็จ โครงการวิจัย “Ugly Veggies Plus” พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จของ โครงการวิจัย “Ugly Veggies Plus – การต่อยอดแบบจำลองธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยี การตรวจสอบย้อนกลับและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำ เพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสินค้าอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน” และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการ รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณินี นฤธาราดลย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โครงการ Ugly Veggies Plus มุ่งแก้ไขปัญหาขยะอาหาร ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญของโลกและประเทศไทย เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างสูญเปล่า โครงการนี้ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนจากขยะอาหารให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ดินพร้อมปลูก โปรตีนบาร์สุขภาพ และหลอดพลาสติกย่อยสลายได้ ซึ่งช่วยลดปริมาณของเสียและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ เพื่อให้เป็นเศรฐกิจหมุนเวียนและเป็น Zero Waste อย่างแท้จริง” นอกจากนี้ โครงการยังได้พัฒนาเทคโนโลยี Blockchain Traceability เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบจากขยะอาหาร สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมถึงใช้ Life Cycle Assessment (LCA) และ Carbon Footprint เพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ และพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล…

Read More

ซีเจ มอร์ ร่วมแบ่งปัน ส่งมอบโอกาสทางการศึกษา สร้างอนาคตเด็กไทยผ่านโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” มูลนิธิยุวพัฒน์

บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด นำโดย ดร.ปาริชาต มั่นสกุล กรรมการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development Committee) (ซ้ายสุด) ส่งมอบเงินบริจาค 105,776.30 บาท จากโครงการ “ปันแต้ม ปันน้ำใจ” ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสมาชิกสบายการ์ด ร่วมบริจาคแต้มสะสมเป็นทุนการศึกษา เพื่อช่วยเหลือเด็กไทยที่ขาดโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” มูลนิธิยุวพัฒน์ โดยมี สุธีตา ชุณหรัศมิ์ ผู้อำนวยการโครงการด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน (กลาง) และ พรนภา เชื้อทอง ผู้จัดการงานสร้างความร่วมมือเพื่อระดมทรัพยากร (ขวาสุด) เป็นผู้รับมอบ ณ ซีเจ มอร์ สาขาสีลม กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ เงินบริจาคดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดราชบุรีและฉะเชิงเทรา รวมถึงจัดสรรให้กับโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนต่อจนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นับได้ว่า เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในชุมชน และสร้างโอกาสด้านอาชีพที่มั่นคงให้กับเยาวชนในอนาคต โครงการ ‘ปันแต้ม ปันน้ำใจ’ เป็นหนึ่งในหลายโครงการของ…

Read More

“UTCC MBA FORUM” เจาะลึกเทรนด์ MBA เพื่ออนาคต 

อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยชี้ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็น Game Changer ย้ำถึงนักธุรกิจยุคปัจจุบันต้องมีองค์ความรู้ มีความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันในอนาคต พร้อมเปิดหลักสูตร AI MBA ตอบโจทย์โลกยุคเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อกำหนดเส้นทางอนาคตในแบบที่ทุกคนสามารถสร้างขึ้นได้เอง ด้านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชูเครือข่ายที่แข็งแกร่งจากหอการค้าไทยเป็นจุดแข็งของ UTCC MBA พร้อมช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนความคิด มี vision ที่ชัดเจน และเป็น playground ให้ได้มาลองเล่นเพื่อค้นหาสิ่งที่ใช่สำหรับคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดวิสัยทัศน์มุมมองด้านธุรกิจยุคใหม่ในงาน “UTCC MBA FORUM: Your Path to the Future…Opportunities Begin Here” จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยกล่าวในหัวข้อ “MBA Futuristic…Ignite Thailand” ว่า  วันนี้โลกธุรกิจไม่ได้ ‘เปลี่ยนแปลง’ แต่กำลัง ‘เปลี่ยนโฉม’ การเรียนรู้ของคนทำงาน…

Read More

SIBA เปิดตัวโครงการ “SIBA CONNECT” สร้างเครือข่ายการศึกษาและธุรกิจ เสริมแกร่งแรงงานไทยสู่อนาคต

กรุงเทพ, 27 กุมภาพันธ์ 2568 – วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ (SIBA) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการ “SIBA CONNECT” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีทักษะและศักยภาพที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Work-Based Learning) ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะในสภาพแวดล้อมจริง โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุม SIBA CONVENTION ในงานนี้ นางพิริยาภรณ์ ธรรมมารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของโครงการว่า “SIBA CONNECT เกิดขึ้นจากความตั้งใจของทางวิทยาลัยฯ ที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างนักศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาทักษะแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล เพิ่มโอกาสในตลาดแรงงาน โดยเน้นทักษะแห่งอนาคต ได้แก่ การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking), การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technological Skills) เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานระดับสากลได้”  พิธีลงนาม MOU ครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำในหลากหลายภาคส่วน…

Read More

อุตสาหกรรมเกษตร มก. เปิดหลักสูตร ป.เอก นวัตกรรมและการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร (ภาคพิเศษ) เรียนแบบ Hybrid (Offline & Online) จบภายใน 3 ปี 

–แนะนำผู้บริหาร ที่ปรึกษา ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเกษตรเรียนเพื่อเสริมทักษะ ต่อยอดองค์ความรู้ เสริมสร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ รองรับการแข่งขันในยุคดิจิทัล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัวปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมและการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร (ภาคพิเศษ) รองรับการเติบโตอุตสาหกรรมเกษตรยุคดิจิทัล มุ่งสร้างผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ สามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหาหรือสร้างคุณค่าที่มีผู้ใช้ประโยชน์จริง ประเดิมปีการศึกษาแรก มิถุนายน 2568 เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง ที่ปรึกษาทางธุรกิจและผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ ทั้งด้านวิชาการ ทักษะ และประสบการณ์ ผ่านการศึกษาวิจัยด้านนวัตกรรมและการจัดการที่ประยุกต์ให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรมเกษตรและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล รศ.ดร.อนุวัตร แจ้งชัด คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร กล่าวถึงการเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมและการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร (ภาคพิเศษ) ในปีการศึกษา 2568 ว่า คณะอุตสาหกรรมการเกษตรมีพันธกิจในการสร้างบุคลากรผู้นำด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร สร้างองค์ความรู้และผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สร้างคุณค่าตลอดโซ่อุปทานธุรกิจเกษตรและอาหาร เพื่อให้ธุรกิจเกษตรและอาหารเติบโตและสามารถแข่งขันในตลาดโลกอย่างยั่งยืน จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือพลิกผันทางเทคโนโลยี วิถีชีวิต พฤติกรรมและความต้องการของตลาด ส่งผลให้ธุรกิจเกษตรและอาหารต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในหลายบริบทเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการบริโภค นอกจากนี้การพัฒนาให้โซ่อุปทานเกษตรและอาหารจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องอาศัยทั้งองค์ความรู้และกลยุทธ์ หรือวิสัยทัศน์ของบุคลากรระดับผู้นำในการบริหารจัดการเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการเพื่อสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือสร้างโอกาสหรือคุณค่าในทางธุรกิจ รวมถึงการกำหนดนโยบายเพื่อยกระดับการแข่งขันให้กับโซ่อุปทานเกษตรและอาหารของประเทศไทย ดังนั้น การเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมและการจัดการอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ “เดิมหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมและการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร มีเปิดการเรียนการสอนในภาคปกติอยู่แล้ว แต่การเรียนในเวลาราชการยังไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้บริหาร ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และผู้ประกอบการที่ต้องทำงานเต็มเวลา และยังต้องการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้…

Read More

รมว. ศึกษาเร่งประกาศเกียรติคุณแก่นักเรียนผู้แทนชนะโอลิมปิควิชาการจากประเทศอินโดนีเซีย

กรุงเทพมหานคร : 10 กุมภาพันธ์ 2568 : บริษัท ไมราห์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด, โรงเรียนกวดวิชาเอซายน์ หรือ วิทย์ครูป้อม ASCI (ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ) จัดพิธีมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นักเรียนผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นประธานในพิธี และมอบโล่รางวัล โครงการ ASMOPSS THAILAND เป็นความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนกวดวิชาเอซายน์ (โรงเรียนเอกชนนอกระบบภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ) และบริษัท ไมราห์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ได้รับสิทธิ์ให้จัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักเรียนผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการ ASMOPSS Thailand เพื่อไปแข่งขันต่อระดับนานาชาติในโครงการ Asian Science & Mathematics Olympiad for Primary and Secondary Schools (ASMOPSS) หรือ แอสมอพส์ ซึ่งเป็นโครงการแข่งขันวิชาการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เน้นทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐาน โดยที่ได้ความร่วมมือจาก 10…

Read More

มูลนิธิฮาคูโฮโด เปิดตัวโครงการผลิตสื่อ-สาระบันเทิง Edutainment นำร่องในไทย เชื่อมโยงสังคมยุคใหม่ผ่านวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

นายจุน ชูมะ กรรมการบริหารมูลนิธิฮาคูโฮโด (Hakuhodo Foundation) (คนกลาง)พร้อมด้วย ดร. วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ (ที่ 3 จากซ้าย) นางสาวเงินยวง นุดตะเคียน ผู้อำนวยการสถาบันการแปลและส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่สอง สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ (ที่ 2 จากซ้าย) รศ. ดร. สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข นายกสมาคมครูภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย (JTAT) (ที่ 3 จากขวา) นายทากามาสะ ทานิมูระ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (ที่ 2 จากขวา) นางสาวคาโอริ อาเบะ ผู้อำนวยการฝ่ายภาษาญี่ปุ่น The Japan Foundation, Bangkok (ที่ 1 จากขวา) และ นายเทรุฮิสะ อิโตะ บริษัท…

Read More

มูลนิธิฮาคูโฮโด เปิดตัวโครงการผลิตสื่อ-สาระบันเทิง Edutainment นำร่องในไทย เชื่อมโยงสังคมยุคใหม่ผ่านวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

นายจุน ชูมะ กรรมการบริหารมูลนิธิฮาคูโฮโด (Hakuhodo Foundation) เปิดเผยว่า มูลนิธิฮาคูโฮโด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2513 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการศึกษาภาษาญี่ปุ่นสำหรับเยาวชนและการศึกษาสำหรับผู้พิการ รวมไปถึงการมีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาผู้คนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ และสังคม เราจึงได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เช่น รางวัลฮาคูโฮ ทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาการศึกษาของเยาวชน และทุนการศึกษาสำหรับการฝึกอบรมครู และในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของมูลนิธิฮาคูโฮโด ทางมูลนิธิได้เปิดตัวโครงการการศึกษาภาษาญี่ปุ่น (Japanese Language Program) ซึ่งมุ่งเน้นสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาภาษาญี่ปุ่นให้กับเยาวชนในต่างประเทศ “เราเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกสำหรับโครงการ Japanese Language Program เนื่องจากในประเทศไทยมีเยาวชนให้ความสนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา อีกเหตุผลหนึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่มีมาอย่างยาวนาน ดังนั้นถ้าให้เลือกว่าจะเริ่มที่ไหนก็ต้องเริ่มที่ประเทศไทยก่อน” นายชูมะ กล่าว  นายชูมะยังกล่าวว่า จากการดำเนินโครงการ Japanese Language Program ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทำให้เราได้รับรู้ถึงปัญหาในการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับเด็กไทย โดยเราพบว่าในแต่ละโรงเรียนจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในกรุงเทพฯ หรือในต่างจังหวัด แต่ปัญหาหลักๆ คือเด็กนักเรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้และใช้ภาษาญี่ปุ่นสื่อสารจริงกับครูผู้สอนชาวญี่ปุ่นน้อยมาก…

Read More

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์นานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม

27 มกราคม เวลา 8 นาฬิกา 55 นาที สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมลมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังหอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเปิดงาน International Students Science Fair 2025 จัดโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสนับสนุนการศึกษาและความก้าวหน้าของโรงเรียนมาโดยตลอด ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “การสำรวจภาพแห่งอนาคต” (Exploring a Visionary Future) ที่ผสมผสานความยั่งยืน มนุษยธรรม และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โอกาสนี้ ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและของที่ระลึก พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กราบบังคมทูลรายงาน ในการนี้ พระราชทานรางวัล “The ISSN Principal Lifetime Award”…

Read More